The Leader Connect

- Ace Glass
- ข้อมูลทั่วไป
- ข้อมูลแรงรับลม
- นิยามพลังงานกระจก
- ทำความรู้จักกระจก
- ทั่วไปภายนอก
- ทั่วไปภายใน
- Force Convection Technolog
- Curve Facade
ตลอดเวลาที่ผ่านมาในงานก่อสร้าง ได้มีการพัฒนาทั้งในด้านการออกแบบ และวัสดุที่นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ถ้านับย้อนไปเมื่อ 25 ปีก่อน จะเห็นได้ว่าอาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ มีรูปแบบประตูหน้าต่างเป็นกรอบไม้ และกรอบเหล็กธรรมดา ซึ่งในขณะนั้นทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการผลิตกระจกนิรภัย ที่ใช้กับรถยนต์และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
ทางบริษัทเล็งเห็นถึงความปลอดภัยของการใช้งานกระจก ในงานก่อสร้างในอนาคต จึงได้ขยายขอบเขตธุรกิจ โดยได้นำเครื่องจักร ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการผลิตกระจกในส่วนของงานอาคาร เช่น กระจกลามิเนต กระจกสูญญากาศ และการนำเตาเทมเปอร์ ที่มีระบบการพาความร้อนแบบบังคับ (Force Convection System) เข้ามาใช้ในการผลิตกระจกนิรภัย ต่อมาการออกแบบอาคารสูง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบ ของเฟรมอลูมิเนียม
จากรูปแบบของประตูหน้าต่างทั่วไป มาเป็นแบบผนังกระจก (CURTAIN WALL) ทำให้อาคารสวยงาม มีความทันสมัย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาภายในตัวอาคารได้มากกว่า และให้ความรู้สึกโปร่ง ไม่อึดอัด ในส่วนของคุณสมบัติกระจกเอง ก็ได้พัฒนาเรื่องของความสามารถในการกันความร้อน ที่จะเข้าสู่ตัวอาคารให้ลดลง (กระจกสะท้อนแสง) แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องสภาพแวดล้อม บริษัทจึงได้พัฒนากระจกสูญญากาศ ที่ช่วยในเรื่องการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร และยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อีกด้วย และการพัฒนาก็ได้ดำเนินต่อมา โดยการประยุกต์ใช้กระจกแผ่รังสีต่ำ (Low-E Glass) (กระจกวัตถุดิบ) ที่สามารถลดการถ่ายเทความร้อน ไม่สะท้อนแสง ไม่กระทบกับสภาพแวดล้อม ยอมให้แสงผ่านได้บางส่วน ให้แสงสว่างภายในอาคาร ไปแปรรูปเป็นกระจกเทมเปอร์ และกระจกลามิเนต เพื่อให้เป็นกระจกนิรภัยได้อีกด้วย
ปัจจุบันการออกแบบได้มีการพัฒนารูปแบบของตัวอาคาร ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ตัวผนังกระจก (CURTAIN WALL) ของตัวอาคาร ก็ได้มีการพัฒนารูปแบบของการติดตั้ง หลากหลายรูปแบบ เช่น ผนังกระจกที่มองจากภายนอก เห็นกรอบเฟรมอลูมิเนียมทั้ง 4 ด้าน หรือแบบที่ มองเห็นกรอบเฟรมอลูมิเนียมเพียง 2 ด้าน (Two side system) หรือจากภายนอกมองไม่เห็นกรอบเฟรมอลูมิเนียมทั้ง 4 ด้าน (Four side system) ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบการติดตั้งแบบใหม่ ที่สามารถนำกระจกเปลือยมาต่อกัน เป็นผนังกระจกขนาดใหญ่ได้ (FACADE WALL) กระจกที่จะใช้กับผนังกระจกชนิดนี้ ต้องการความแข็งแรง อีกทั้งยังคงต้องมีความปลอดภัย ทางบริษัทก็ได้พัฒนาและผลิตกระจกนิรภัย (เทมเปอร์ลามิเนต) ที่สามารถรองรับการติดตั้งผนังกระจกระบบนี้ได้ การติดตั้งกระจกระบบนี้มี 2 แบบคือ แบบเจาะรู (FIX POINT) กับ แบบหนีบ (Pinch Plate)
ประเภทกระจก | ความหนา (มม.) | การรับแรงลม (กก./ตรม.) | น้ำหนักกระจก (กก./ตรม) |
กระจกโฟลต | 2 | 90 | 5 |
3 | 180 | 7 | |
4 | 260 | 10 | |
5 | 360 | 12 | |
6 | 440 | 15 | |
8 | 800 | 20 | |
10 | 1000 | 25 | |
12 | 1200 | 30 | |
15 | 1700 | 37 | |
19 | 2600 | 47 | |
กระจกเทมเปอร์ | 4 | 780 | 10 |
5 | 1080 | 12 | |
6 | 1320 | 15 | |
8 | 2400 | 20 | |
10 | 3000 | 25 | |
12 | 3600 | 30 | |
15 | 5100 | 37 | |
กระจกลามิเนต | 3+3 | 250 | 14+0.2 |
5+5 | 540 | 24+0.2 | |
6+6 | 720 | 30+0.2 | |
8+8 | 1150 | 40+0.2 | |
10+10 | 1680 | 50+0.2 | |
12+12 | 2300 | 60+0.2 | |
15+15 | 3420 | 74+0.2 | |
19+19 | 5245 | 94+0.2 | |
กระจกสูญญากาศ | 3+ Air6 +3 | 230 | 14+0.5 |
5+ Air6 +5 | 500 | 24+0.5 | |
6+Air6 +6 | 660 | 30+0.5 | |
8+Air6 +8 | 1055 | 40+0.5 | |
10+Air12 +10 | 1540 | 50+0.5 | |
12+Air12 +12 | 2110 | 60+0.5 |
นิยามค่ามาตรฐานพลังงานของกระจก
คำศัพท์ | นิยามที่ควรทราบ |
Visible Rays | ปริมาณแสงที่มองเห็น |
Transmission | ค่าที่ส่องผ่านกระจก |
Reflection | ค่าที่สะท้อนออก |
Absorption | การดูดกลืนความร้อน |
Solar Energy | ปริมาณของพลังงานแสงอาทิตย์ |
Ultra Violet Rays Transmittance | ปริมาณของรังสีอัลตราไวโอเลตที่สามารถส่องผ่านกระจก |
Relative Heat Gain | ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมที่ผ่านกระจกเข้าสู่ภายใน |
Shading Coefficient (SC) | ค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด |
U-Value | ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน |
U-Value Winter Nighttime | ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนในฤดูหนาว |
U-Value Summer Daytime | ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนในฤดูร้อน |
Watt/ m2 K | วัตต์/ตารางเมตร/องศาเคลวิน |
Btu/ Ft2 hr ◦F | บีทียู/ตารางฟุต/ชั่วโมง/องศาฟาเรนไฮท์ |
การแปลงหน่วยค่ามาตรฐาน
การแปลงหน่วย | |
1 W/ m2 | = 0.8598 kcal/ m2 hr |
= 0.3170 Btu/ ft2 hr | |
1 W/ m2 K | = 0.8598 kcal/ m2 hr ◦C |
= 0.1761 Btu/ ft2 hr ◦F | |
pressure 1 kgf/ m2 | = 9.8 N/ m2 |
160 kgf/ m2 | = 1570 N/ m2 |
stress 1 kgf/ cm2 | = 0.098 N/ mm2 |
500 kgf/ cm2 | = 49 N/ mm2 |
1 วัตต์/ ตารางเมตร | = 0.8598 กิโลแคลลอรี่/ ตารางเมตร/ ชั่วโมง |
= 0.3170 บีทียู/ ตรารางฟุต/ ชั่วโมง | |
1 วัตต์/ ตารางเมตรเคลวิน | = 0.8598 กิโลแคลลอรี่/ ตารางเมตร/ ชั่วโมง/ องศาเซลเซียส |
= 0.1761 บีทียู/ ตารางฟุต/ ชั่วโมง/ องศาฟาเรนไฮท์ | |
ความดัน 1 กิโลฟอร์ซ/ ตารางเมตร | = 9.8 นิวตัน/ ตารางเมตร |
160 กิโลฟอร์ซ/ตารางเมตร | = 1570 นิวตัน/ ตรารางเมตร |
แรงดัน 1 กิโลฟอร์ซ/ ตารางเซนติเมตร | = 0.098 นิวตัน/ ตางรางมิลลิเมตร |
500 กิโลฟอร์ซ/ ตารางเซนติเมตร | = 49 นิวตัน/ ตารางมิลลิเมตร |
.
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
กระจกนิรภัยเทมเปอร์เป็นการนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริง(Tempering)เพื่อเพิ่มความแข็งแรง โดยใช้หลักการเดียวกับการทำคอนกรีตอัดแรง คือสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวแก้วเพื่อต้านแรงจากภายนอก วิธีการนี้ทำได้โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัวของแก้วเล็กน้อยที่ประมาณ 650-700องศาเซลเซียส และทำให้ผิวกระจกเกิดความเย็นตัวอย่างรวดเร็ว โดยใช้ลมเย็นเป่า ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวนอกกับส่วนกลางของแผ่นกระจกจะทำให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวของกระจกทั้ง 2 ด้าน โดยจะประกบชั้นส่วนกลางเหมือนลักษณะแซนวิช และชั้นที่ผิวนี้จะต้านแรงจากภายนอกทำให้กระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วมีความแข็งแรงขึ้นประมาน 4 เท่า
คุณสมบัติ
1) ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้หักงอ(Bending Strength)เมื่อเปรียบเทียบกระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ที่มีความหนา 5 มิลลิเมตร กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500-650 กิโลกรัม/ตารางเซนติิเมตร ในกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง1,500 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
2) การต้านทานน้ำหนัก(Loading Resistance)คือความต้านทานต่อแรงดันและแรงกระแทกโดยแบ่งออกเป็น
– การด้านทานน้ำหนักหรือสถิติ (Static Load Resistance)คือแรงที่มากระทบกระจก กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถทนต่อแรงกระทบ ได้มากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันประมาณ 3-5 เท่า
– การต้านทานน้ำหนักกระแทก(Impact Load Resistance)คือความทนทานของกระจกต่อแรงกระแทกโดยทั่วไปกระจกนิภัยเทมเปอร์สามารถรับแรงกระแทกได้ดีได้ดีกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 4 เท่า
3) ความปลอดภัยคือ การลดอันตรายที่จะเกิดจากการโดนกระจกบาด เพราะการแตกของกระจกนิภัย จะแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆและมีความคมน้อย
4) การต้านทานความร้อน(Heat Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิแบบทันทีทันใด จากการทดสอบความสามารถในการต้านทานความร้อนของกระจกนิภัยเทมเปอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับกระจกธรรมดาที่ความหนา 5 มิลเมตรเท่ากัน มีผลการทดสสอบดังต่อไปนี้
– กระจกนิภัยเทมเปอร์สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 170 องศาเซลเซียส และจะเริ่มแตกทั้งหมดเมื่ออุณหภูมิสูงถึงประมาณ 220 องศาเซลเซืยส -กระจกธรรมดาสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงประมาณ 60 องศาเซลเซียสและจะแตกทั้งหมดเมื่อค่าความแตกเมื่อค่าของอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงประมาณ 100 องศาเซลเซียส
ข้อควรพิจารณา
จุดอ่อนของกระจกนิรภัยเทมเปอร์คือ แรงที่กระทำเป็นจุด หากมีการกระแทกโดยวัตถุที่มีมุมแหลม ซึ่งทำให้เกิดการตัดลึกเข้าไปภายในผิวกระจก ทำให้ชั้นแรงอัดถูกทำลาย ความสมดุลภายในเนื้อกระจกก็จะถูกทำลาย
กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถคงรูปร่างได้ด้วยความสมดุลของแรงอัดและแรงดึง ดังนั้นเมื่อนำกระจกชนิดนี้มาใช้งาน ห้าม!!! มีการเจาะรู บากหรือตัดแต่งในภายหลังโดยเด็ดขาด
ส่วนของกระจกนิภัยเทมเปอร์ที่มีการเจาะรู พ่นทราย หรือทำเครื่องหมายใดๆจะมีความเปราะบางมากกว่าส่วนอื่นๆ
ไม่ควรยึดกระจกกับโลหะโดยตรง ควรมียางหรือวัตถุอื่นๆมารองรับที่ผิวกระจก
ผิวกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะเป็นคลื่นมากกว่ากระจกธรรมดา
ข้อ ๔ การคำนวณ มาตรฐาน และวิธีการทดสอบหาค่ามาตรฐานพลังงานของกระจก ให้ใช้ตามมาตรฐาน ISO 9050 และ ISO 10292
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้กระจกที่มี ค่า สัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ และค่าการส่องผ่านของแสงธรรมชาติต่อค่าสัมประสิทธิ์ การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์สอดคล้องกับค่าที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ เป็นกระจกเพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้วัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายมีสิทธิขอรับการส่งเสริมและช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอันเป็นการประหยัดพลังงานของประเทศและช่วยลดมลภาวะ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
แหล่งข้อมูล หน้า ๔0 – ๔๒ เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ เมษายน ๒๕๕๒
ประเภทของกระจกทดสอบ
ในการพิจารณาเลือกใช้กระจกเป็นวัสดุในงานสถาปัตกรรม/ก่อสร้างอาคาร จะต้องคำนึงถึงการใช้งาน เพื่อเลือกพิจารณาคุณสมบัติของกระจกที่เหมาะสมได้ เพราะกลุ่มงานบางประเภทนอกจากความสวยงามทันสมัยแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานด้วย ลักษณะการใช้งานแบ่งได้เป็น กระจกภายนอกและกระจกภายในอาคาร ซึ่งในส่วนหน้ากระจกภายนอกนี้ เราจะมาทำความรู้จักและแบ่งหมวดหมู่งานชนิดต่างๆที่จะต้องใช้กระจกที่แตกต่างกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทของกระจกทดสอบ

ที่เป็นแบบชนิดมีเฟรมอลูมิเนียม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดบานละประมาณ 2.10 x .90 เมตร มักนิยมใช้ในส่วนของบ้านพักอาศัย, คอนโด, สำนักงานขนาดกลาง และ เล็ก ลักษณะงานแบบนี้ควรใช้เป็นกระจกลามิเนต ความหนาไม่ต่ำกว่า 6 มม. (3mm.+0.76PVB+3mm., 4mm.+0.76PVB+4mm…) โดยเฉพาะบ้านพักอาศัยและคอนโดที่อยู่ริมทะเลซึ่งมีลมพัดแรง เพราะอาจมีเสียงวี๊ดอันเนื่องมาจากลม ที่พัดผ่านช่องประตูหน้าต่างเข้ามา
:: ภาพถ่ายจาก Fine Condo ::
การใช้กระจกที่หนาขึ้นจะทำให้โครงสร้างบานประตูหน้าต่าง มีความแข็งแรงไม่กระพือได้ง่าย แต่ความหนากระจก ก็คงไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะป้องกันเรื่องของเสียงได้ การเลีอกใช้เฟรมอลูมิเนียมที่หนาขึ้น เช่น 1.5-2.0 มม. และการใช้อุปกรณ์ล้อเลื่อนต่างๆ ที่รับน้ำหนักได้มากขึ้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อนึ่ง เฟรมอลูมิเนียมกับกระจกลามิเนตที่นิยมใช้กันทั่วไป ในปัจจุบันมักนิยมใช้เป็นเฟรมสีขาวกับกระจกสีเขียว เฟรมสีขาวจะให้ความรู้สึกสะอาดนุ่มนวล และกระจกสีเขียวจะให้ความรู้สึกสบายตาเวลามองผ่าน เพราะคลื่นสีที่สมองคนเรารับรู้ได้ก่อนเป็นสีแรกคือสีเขียว
:: ภาพถ่ายจาก Noble Condo ::

ประตูบานเปลือย (frameless door system)
กระจกที่ใช้กับงานภายนอกอาคาร ชนิดและความหนากระจกที่ใช้ ขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงาน การรับแรงลม และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่น กระจกประตูบานเปลือย ลองนึกถึงลักษณะทางเข้าตึกทันสมัยหลายๆที่ โดยใช้กระจกที่ไม่มีเฟรมเป็นประตูทางเข้า มีเพียงอุปกรณ์สแตนเรสที่ยึดมุมบน/ล่างของประตูกระจก ทำหน้าที่เป็นบานพับและรับน้ำหนักของประตูแผ่นนั้นๆ กระจกประตูชนิดนี้ควรใช้เป็นกระจกเทมเปอร์ หนา 10 มม. หรือหนากว่า โดยเฉพาะถ้าบานประตูกระจกแผ่นนั้นๆ มีขนาดที่กว้างกว่า 1 เมตร และ/หรือ สูงกว่า 2.2 เมตร ซื่งกระจกประตูแผ่นขนาดดังกล่าวจะมีนำหนักไม่น้อยกว่า 70 กิโลกรัม มุมที่บากกระจกเพื่อใส่อุปกรณ์บานสวิง (Hinge) ที่มีตัวหนีบจับกระจกนั้น จะต้องรับแรงบิดของการเปิดปิดประตูอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ก็มีความสำคัญต่อระยะเวลาการใช้งานของประตูด้วยเช่นกัน ส่วนอุปกรณ์โช๊คอัพ (ที่ฝังอยู่กับพื้น) ใช้รับน้ำหนักประตู จะมีความแขงแรงทนทานหรือไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของโช๊ค ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่จะแบ่งกลุ่มสินค้าและราคาตาม ขนาดนั้นๆ ที่อุปกรณ์โช๊คจะรับน้ำหนักได้

หลังคากระจก หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า หลังคาแก้ว (Skylight Glass)
เป็นแผงกระจกที่ใช้แทนตัวหลังคา เพื่อให้รับแสงเข้าได้เยอะ แต่แสงสว่างนั้นหลายท่านก็คงเข้าใจว่ามาพร้อมกับความร้อน พื้นที่ๆใช้แผงกระจกหลังคาแก้วแบบนี้ ไม่ควรใช้เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ และอยู่ในพื้นที่ๆ ต้องมีผู้คนใช้ชีวิตอยู่ประจำทุกวันนานๆ แต่ ด้วยคุณสมบัติที่ดีของกระจก ในการให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในของตัวอาคาร เพื่อให้รู้สึกโปร่งโล่ง บวกกับความสวยงดงามทันสมัยสถาปนิกหลายๆที่ทั้วโลกมักนิยมออกแบบอาคารพาณิชย์ ให้มีหลังคาแก้ว บนโถงรับรอง และที่จริงแล้วการจะทำให้หลังคาแก้วให้ไม่ร้อนเกินไป ก็สามารถทำได้อย่างไม่ยาก เพียงแต่ท่านทราบว่าวัสดุ หรือส่วนผสมอะไรของกระจกนิรภัย ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ก็จะช่วยให้ท่านตัดสินใจทำหลังแก้ว ที่สวยและไม่ร้อนได้อย่างไม่ยาก ก่อนอื่น กระจกที่ใช้จะต้องมีความปลอดภัย เช่น กระจกเทมเปอร์ลามิเนต หรืออย่างน้อยต้องเป็นกระจกลามิเนต ขนาดประมาณ 1.5 x 1.5 เมตร ความหนาประมาณ 10 มม. (5mm.+PVB+5mm.) โดยมีกรอบเฟรมรับทั้งสี่ด้านของแต่ละแผ่น
:: รูปถ่ายจาก Park Royal Hotel Singapore ::
ส่วนในเรื่องของการป้องกันความร้อนนั้น หลายท่านอาจรู้จักกระจกเคลือบสาร Low-E (กระจกกันความร้อนชนิดใหม่) อยู่แล้ว เมื่อนำกระจกชนิดนี้มาลามิเนต ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันความร้อนได้มากขึ้น และยังให้อัตราค่าแสงผ่านได้เกือบเทียบเท่ากระจกใส แต่ เนื่องจากภูมิประเทศของเราตั้งอยู่ ในแทบโซนร้อน กระจก Low-E อาจจะยังไม่พอสำหรับหลายท่าน ทางออก การนำเทคนิคสกรีนสีด้วยสีชนิดเซรามิคที่ทนความร้อนสูง (680 C) มาพิมพ์ลายเป็นตารางหมากรุก หรือรูปแบบวงกลมเล็กๆ (แบบเม็ดไข่ปลา) ประมาณ 3-5 มม. และให้มีช่องใสห่างกันประมาณ 50-75% แล้วสกรีนสีขาวให้มีรูปแบบใสสลับสีกระจายเต็มพื้นที่แผ่นกระจกนั้น จะทำให้ค่าความร้อนสะสมลดลงได้อีก ผลที่ได้เมื่อติดตั้งเสร็จ คือหลังคาแก้วที่สวยทันสมัยและให้ความรู้สึกที่โปร่งโล่งสบายตา เพราะแสงธรรมชาติที่ส่องเข้ามาภายในอาคาร แถมยังประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาวได้อีกด้วย อ๋อ..ปลอดภัยด้วยครับ
ผนังกระจกแบบ CURTAIN WALL


ซึ่งนิยมใช้กันมากในอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เพราะเป็นระบบผนังกระจกแบบค่อนข้างใหม่ ซึ่งมีรายระเอียดการออกแบบการป้องกันแรงลม (Windload) ที่สลับสับซ้อน และมีหลักการออกแบบที่แตกต่างกันพอสมควร เช่น ระบบ Stickwall, 2 side, 4 side และ Unitize system. เราคงไม่สามารถอธิบาย ถึงรายระเอียดของแต่ละระบบได้ตรงนี้ เพราะวิธีการออกแบบการป้องกันแรงลม และป้องกันน้ำเข้าตัวอาคาร ของแต่ละบริษัทที่ออกแบบระบบผนังกระจกเหล่านี้นั้น แตกต่างกัน
:: รูปถ่ายจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ::
เราจะขออธิบายถึงการเลือกใช้กระจกนิรภัย สำหรับประเภทงานแบบนี้ การเลือกใช้กระจกนิรภัยสำหรับระบบเคอเท่นวอล ซึ่งวัสดุที่เอามาทำเฟรมใช้กันเกือบทั้งหมดทำจากอลูมิเนียม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำจาก UPVC และไม่ค่อยนิยมใช้ในอาคารสูงเพราะสามารถติดไฟได้ง่าย แผงที่สูงไม่เกิน 15 เมตร หรือ 5 ชั้น ควรใช้เป็นกระจกลามิเนตความหนาประมาณ 10 มม. (5mm+PVB+5mm) และขนาดไม่เกิน 1.70×1.70 เมตร
ข้อดีของการใช้กระจกที่มีเยื่อยึดติดแบบนี้ คือ เพราะเมื่อกระจกมีการแตกชำรุด กระจกแผ่นนั้นๆ จะไม่ร่วงหล่นลงมาทำอันตรายต่อผู้คนที่อยู่ด้านล่าง การออกแบบอาคารที่อยู่ใกล้ริมถนน ที่มีการจราจรพลุ๊กพล้านนั้น การเลือกใช้กระจกลามิเนต ก็มีข้อดีอีกอย่าง ในการลดเสียงรบกวนจากพายนอกได้มาก ยิ่งถ้าเป็นเยื่อที่หนาตั้งแต่ 0.76 มม. ขึ้นไป จะยิ่งลดระดับความดังจากเสียงภายนอกอย่างรู้สึกได้
ในส่วนของการออกแบบแผงเคอเท่นวอลที่สูงกว่า 15 เมตร หรืออยู่ติดริมทะเล ก็ควรใช้เป็นกระจกนิรภัย เทมเปอร์ลามิเนตที่ความหนามากขึ้น เช่น 12, 16 หรือ 20 มม. แล้วแต่ความสูงของตึกและของแผงเคอเท่นวอล
ผนังกั้นห้อง

ปกติบริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทำให้กระจกที่ใช้กับงานประเภทนี้ควรมีความปลอดภัย ดังนั้น กระจกที่ใช้ควรเป็นกระจกลามิเนตความหนา 8-12 มม เช่น(4mm+PVB+4mm,5mm+PVB+5mm..)
:: ภาพถ่ายจาก Alcove 10 Condo ::
คุณสามารถเลือกใช้กระจกขนาดประมาณ 1.50 x 2.50 เมตร และหลายกรณีสามารถใช้ความสูงกระจกได้มากกว่า 2.50 เมตร หากแต่ต้องมีเสาหรือ fin ดามหลังเอาไว้เพื่อมิให้กระจกมีการแอ่นตัวได้ แต่วิธีแบบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในส่วนของบ้านพักอาศัย แต่อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือแบบใช้เฟรมอลูมิเนียม ซึ่งเฟรมมีสีสันและแบบให้เลือกมากมาย ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานประเภทกระจกกั้นผนังโดยเฉพาะก็มี

สาระน่ารู้
ข้อดีอีกอย่างในการใช้กระจกลามิเนตคือการลดเสียง กระจกลามิเนตสามารถลดเสียงจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งของแผ่นกระจกได้หลายเดซิเบลเมื่อเปรียบเทียบกับกระจกธรรมดา เพราะวัสดุที่ใช้ในการยึดประกบ (PVB) นั้น ไม่เพียงแต่เป็นตัวยึดติดและป้องกันรังสี UV แต่ยังมีคุณสมบัติในการซับคลื่นเสียงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ผนังกั้นห้อง

ปกติบริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทำให้กระจกที่ใช้กับงานประเภทนี้ควรมีความปลอดภัย ดังนั้น กระจกที่ใช้ควรเป็นกระจกลามิเนตความหนา 8-12 มม เช่น(4mm+PVB+4mm,5mm+PVB+5mm..)
:: ภาพถ่ายจาก Alcove 10 Condo ::
คุณสามารถเลือกใช้กระจกขนาดประมาณ 1.50 x 2.50 เมตร และหลายกรณีสามารถใช้ความสูงกระจกได้มากกว่า 2.50 เมตร หากแต่ต้องมีเสาหรือ fin ดามหลังเอาไว้เพื่อมิให้กระจกมีการแอ่นตัวได้ แต่วิธีแบบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในส่วนของบ้านพักอาศัย แต่อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือแบบใช้เฟรมอลูมิเนียม ซึ่งเฟรมมีสีสันและแบบให้เลือกมากมาย ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานประเภทกระจกกั้นผนังโดยเฉพาะก็มี


กระจกห้องอาบน้ำ
สำหรับห้องอาบน้ำแล้วกระจกบานเปลือยหรือกระจกที่ไม่มีกรอบนั้น ควรใช้เป็นกระจกประเภทเทมเปอร์ ความหนาประมาณ 8-10 มม. เนื่องจากตัวบานประตูจะต้องมีการบากมุม/ขอบ และเจาะรู เพื่อใส่อุปกรณ์บานพับ (Hinge) และเมื่อประตูกระจกมีการใช้งานเปิดปิดบ่อยครั้ง บริเวณที่มีตำแหน่งเจาะ/บากของกระจก จะต้องมีความแข็งแรงกว่ากระจกธรรมดาทั่วไปเพื่อรองรับแรงบิดแรงกระแทกจากการใช้งาน แต่ทั้งนี้ความหนาของกระจกก็ใม่ควรหนาเกินไป ถึงแม่ว่ากระจกเทมเปอร์ที่หนาขึ้นจะให้การรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น และให้ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นไปอีกก็ตาม เพราะน้ำหนักกระจกที่มากขึ้นตามความหนาจะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์บานพับสั้นลงโดยไม่จำเป็น
* สาระน่ารู้ เกี่ยวกับการออกแบบห้องน้ำกระจกบานเปลือย (Framless Glass shower room) ปัจจุบันอาคารที่พักหลายที่ ทั้งที่เป็นตึกสูงและบ้านพักอาศัย หันมาสนใจการมีห้องอาบน้ำแบบเป็นกระจกบานเปลือยกันมากขึ้น หลักการสำคัญที่อยากแนะนำให้คำนึงถึงเมื่อออกแบบห้องน้ำประเภทนี้คือ ลักษณะการเปิด/ปิดของประตูกระจกนั้นจะต้องดึงออกจากห้องอาบน้ำ เพราะถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินเช่นไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ใช้งานในห้องอาบน้ำสามารถผลักประตูออกมาได้ทันท่วงที
กระจกปล่องลิฟท์แก้ว


กระจกที่จะใช้งานกับลักษณะการติดตั้งแบบนี้ หากเป็นการติดตั้งแบบเปลือยคีอมีเพียงอุปกรณ์ยึดตามมุมกระจกเท่านั้น ควรใช้เป็นกระจกเทมเปอร์ลามิเนต เพื่อเพิ่มความแข็งแรง การเลือกใช้กระจกชนิดนี้ควรมีความหนาประมาณ 16 มม. (8 mm. TP +1.52 PVB + 8 mm. TP) หรือหนา/บางกว่านี้แล้วแต่ขนาดของปล่องลิฟท์
อีกรูปแบบหนึ่งของปล่องลิฟท์แก้วคือเป็นแบบที่มีกรอบซึ่งจะใช้เป็นเฟรมอลูมิเนียมยึดเป็นโครง แต่designแบบมีกรอบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักแต่โครงก็แข็งแรงมากพอที่จะสามารถใช้เป็นกระจกลามิเนตธรรมดาได้

สาระสำคัญที่น่ารู้ของ กระจกลิฟต์แก้ว
* การออกแบบลิฟท์แก้ว ต้องให้ความปลอดภัยต่อบุคคลที่โดยสารภายในลิฟท์ได้ กระจกใสสามารถลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมภายในลิฟท์ รวมถึงในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรง หรือ ฉุกเฉิน บุคคลภายนอกสามารถเห็นเหตุการณ์ และช่วยเหลือได้ทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายฉุดตัวประกันเข้าไป ในลิฟท์ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถประเมินสถานการณ์ จากการเคลื่อนไหวของคนร้ายที่อยู่ภายใน และความได้เปรียบในการชิงตัวประกัน ทำให้สามารถช่วยเหลือตัวประกันออกมาได้อย่างปลอดภัย
* เพราะเหตุนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงประเทศไทยในบางพื้นที่ เริ่มมีการตื่นตัวในการให้ความสำคัญกับการใช้ลิฟท์แก้ว ในอาคารสำคัญๆของประเทศ เช่น อาคารราชการ. สนามบิน. ห้างสรรพสินค้า. อาคารสำนักงานขนาดใหญ่. สถานีรถไฟฟ้า. ชานชาลารถไฟ ฯลฯ
ระบบนำพาความร้อนแบบบังคับ


ชื่อที่เรียกทางภาษาเทคนิคว่าระบบนำพาความร้อนแบบบังคับอาจจะต้องแบ่งเป็น2ส่วน
สำหรับหลักการทำงานของเครื่องจักรชนิดนี้ เครื่องจักรในกรณีนี้เราหมายถึงเตาอบกระจกเทมเปอร์
ทั้ง 2ส่วนมีหลักการพื้นฐานที่เหมือนกันแต่ผลลัพธ์ ของทั้ง 2ส่วนสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจเฉพาะด้าน อาจจะแตกต่างกันบ้างเพราะส่วนหนึ่งของระบบ ForceConvection นั้นส่งผลโดยตรงกับคุณภาพ ของกระจกเทมเปอร์ซึ่งเราจะเรียกว่า (JetForce Convection) แต่อีกส่วนจะส่งผลทางอ้อมกับกระจก แต่จะส่งผลโดยตรงต่อระยะเวลาการใช้งานของ เครื่องจักรซึ่งจะเรียกว่า (CoolantForce Convection)
:: มีรายระเอียดดังต่อไปนี้ ::


Coolant Force Convection
เราคงต้องทำความเข้าใจกันเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบนำพาความร้อนสำหรับเครื่องจักร เพราะถ้าระบบระบายความร้อนของเครื่องจักรทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อคุณภาพของกระจกอยู่ดี
ถ้าจะเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพได้ช้ดเจนก็ต้องให้ท่านนึกถึงระบบคูลลิ่งเครื่องยนต์ซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์โดยใช้ปั๊มน้ำ น้ำจะวนเข้าสู่ผิวรอบๆเครื่องแล้ววนน้ำออกไปสู่หม้อพักน้ำเพื่อให้เย็นแล้ววนกลับเข้าไปใหม่ทำงานอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
แต่สำหรับเตาเทมเปอร์นั้นความร้อนที่ต้องถูกนำระบายออกไม่ใช่เครื่องยนต์แต่เป็นมอเตอร์ทนความร้อนสูง (ประมาณ1,000C) เพราะมอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของเตาจะต้องทำงานอย่างหนักตลอดเวลาในการอัดอากาศร้อนลงบนผิวกระจกเพื่อให้กระจกมีความเรียบอยู่เสมอตั้งแต่วินาทีแรกที่โหลดเข้าจนถึงโหลดออก
:: เพราะเหตุผลนี้ ::
จึงทำให้อุปกรณ์ต่างๆของระบบระบายความร้อนที่มีอุหณภูมิสูงอย่างนี้ต้องมีความคงทนและทำงานได้ดีอย่างสม้ำเสมอ เพราะถ้าไม่แล้ว กระจกก็จะเกิดรอยคลื่นที่ผิวได้ ส่งผลต่อลักษณะการมองเห็น แล้วถ้าจะนำไปผลิตลามิเนตต่อก็จะเกิดปัญหาเป็นฟองไปตามลำดับ
Jet Force Convection



ส่วนที่เป็นระบบนำพาความร้อนด้วยอากาศหรือ JetForce Convection (ได้อธิบายไว้ในข้างต้นบางส่วน)
คือส่วนที่สัมพันกันกับมอเตอร์ทนความร้อนสูงซึ่งจะมีมอเตอร์อยู่หลายตัวติดตั้งตามตำแหน่งที่ถูกคำนวณไว้แล้ว มอเตอร์จะพัดอัดลมร้อนผ่านเข้าไปในท่อที่มีหัวฉีดเล็กๆอยุ่ปลายทางซึ่งแต่ละหัวจะเรียงห่างกันประมาณ2นิ้วจำนวนเกือบพันหัวและทั้งแผงของหัวฉีดจะห่างจากผิวกระจกประมาณ4นิ้ว หลัการ JetForce Convection จะต้องมีการคำนวนมาก่อนว่าความร้อนที่ฉีดออกมาจากหัวฉีดในอุณภูมิที่ต้องการ แล้วเมื่อลมร้อนพัดผ่านผิวกระจกแล้วย้อนกลับขึ้นมา จะต้องมีการดูดความร้อนที่กลับขึ้นมานั้นนำมาเพิ่มความร้อนใหม่ เพื่อนำไปผ่านพัดลมร้อนแล้วอัดอากาศกลับลงมาบนผิวกระจกอีกที
:: แล้วเทคโนโลยีนี้ดีกว่าเทคโนโลยีเดิมอย่างไร ::
เทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันคือ(HeatRadiation) ระบบให้ความร้อนจากเส้นลวดทำความร้อน(Heater) ระบบแบบนี้จะให้ความร้อนจากเส้นheaterอย่างเดียว เมื่อต้องการให้ความร้อนขึ้นสูงถึงอุณหภูมิที่ต้องการก็ต้องเพิ่มพลังงานไฟฟ้าเข้าไปให้heaterทำงานมากๆ แล้วพอความร้อนสะสมในเตามีมากเกินไปก็ทำให้กระจกอ่อนตัวมากเกินพอดี และส่งผลให้กระจกแผ่นนั้นๆเป็นคลื่นในที่สุด
:: การใช้ระบบ JetForce Convection เป็นการนำเอาความร้อนสะสมในเตามาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ::
Jet Force Convection ทำให้กระจกนั้นมีผิวที่เรียบสวยงามและยังทำให้โครงสร้างในเนื้อกระจกแกร่งเท่ากัน การที่กระจกเทมเปอร์มีความเครียดของโมเลกูลทั้วทั้งแผ่น(คือแกร่งเท่ากันทั้งแผ่น)จะช่วยลดสาเหตุการลั่นแตกได้ เพราะในกระจกเทมเปอร์หนึ่งแผ่นที่มีบางตำแหน่งมีความแข็งมากเกินกว่าตำแหน่งอื่นๆจะทำให้ตำแหน่งนั้นมีความเปลาะมากจนอาจเกิดการลั้นแตกเองได้ ไม่เพียงเท่านั้น กระจก Low-E ซึ่งเป็นกระจกที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดพลังงาน แต่เป็นกระจกที่อบเทมเปอร์ได้ยากที่สุด ก็สามารถใช้เทคโนโลยี Jet Force Convection ไนการอบได้อย่างสบาย
นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมระบบForceConvection ถึงดีกว่าระบบให้ความร้อนแบบเดิมๆ
ความสามารถเครื่องจักร
ข้อมูลด้านเทคนิคและสมรรถนะของเครื่องจักร
Max. loading area> | Flat glass 2440mm x 4200mm (5-19mm)> |
Bent glass 2440mm x 2500mm (5-19mm)> | |
Min. Glass Size> | Flat glass 150mm x 350 mm> |
Bent glass 400mm x 600mm (bent)> | |
Glass thickness range> | 5-19mm> |
Recommended transformer> | 1000 kVA> |
capacity> | |
Power Consumption (per m2)> | Flat glass Calculated on glass of 5mm 4.5kwh> |
(clear float glass, continuous> | Bent glass Calculated on glass of 5mm 7.0kwh> |
production, 100% loading)> | |
Heating power> | 850kW> |
Quenching power> | 220kW x 1 blower (equipped with one 220KW> |
frequency inverter )> | |
Quality> | In accordance with EN12150-1:2000> |
Rate of finished product> | Flat glass 95%> |
Bent glass 92%> | |
Min. radii of curvature> | 5~6 mm R1050mm> |
8~10 mm R1600mm> | |
12~19mm R2500mm> | |
Max. rise of arch (max. bending> | 600mm> |
depth)> | |
Dimension of the line> | 28.5m (L) x 3.7m (W) x 4m (H)> |
(Approximately)> | |
Blower room dimension> | 6m (L) x 5m (W) x 4.5m (Min. H)> |
(Approximately) | |
Roller diameter> | 85mm> |
Roller distance> | 120mm> |
Glass can be tempered | Clear float glass> |
Body-tinted glass> | |
Patterned glass ( not all patterns )> | |
Coated glass on-line and temperable Low-E glass> | |
(Low-E film must be resistant to more than 700C and> | |
with emissivity of over 0.15) |
รูปเปรียบเทียบ

รูปถ่ายนี้เปรียบเทียบให้เห็นผิวของกระจกที่อบจากเตาทั้ง 2 ประเภท
:: กระจกที่อบจากเตาเทมเปอร์แบบเดิม (ด้านซ้าย)
:: กระจกที่อบจากเตาที่มีระบบ Force Convection (ด้านขวา)


Curve Façade เกิดขึ้นได้อย่างไร ?!! ด้วยความสำเร็จจากการนำเสนอในงานสถาปนิก บริษัท วี.เอ็ม.ซี. เซฟตี้กลาส(ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและนวัตกรรมในด้านการ Design ที่หลากหลาย การติดตั้ง รวมถึงกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของท่าน ด้วยการฉีกแนวความคิดออกนอกกรอบ และ กฎเดิมๆ ของนวัตกรรมการผลิตกระจกในรูปแบบต่างๆที่ผ่านมา และด้วยความมุ่งมั่น ความชำนาญผสมผสานกับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญในการก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมในรูปแบบของกระจกสมัยใหม่สำหรับอาคาร และ ที่พักอาศัย ซึ่งมีแต่ VMC เท่านั้นที่สนองตอบทุกแนวคิดและความต้องการของท่าน
ที่ผ่านมากระจกมีบทบาทกับงานก่อสร้างอาคาร สูงมาก แต่ในรูปแบบของการใช้งานในทางสถาปัตยกรรมนั้น กระจกมักจะถูกใช้ควบคู่ไปกับเฟรมโครงสร้างซึ่งอาจจะเป็นอลูมิเนียม โลหะ ไม้หรือพลาสติก(PVC) แต่ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่ทดสอบกับการใช้งานจริงอยู่แล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติในการรับแรง และการรับน้ำหนักที่มากขึ้นหรือแม้กระทั่งกับกระจกด้วยกันเอง ผนวกกับเทคโนโลยีในการผลิตที่พัฒนามากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ทำให้สามารถผลิตกระจกที่ไม่จำเป็นต้องมีกรอบเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักและกันการบิดตัว เช่น showcase: Curve Façade ของเรา

Design / ความยากง่ายในการออกแบบ
ในการออกแบบกระจก Curve facade ต้องให้ความละเอียดและพิถีพิถัน เริ่มจาก 3D Design การคำนวณในเรื่องของการถ่ายเทน้ำหนัก ความมั่นคง การถอดแบบกำหนด Spec. การให้ขนาดเพื่อส่งทดลองผลิตและทดสอบ ก่อนเข้ากระบวนการผลิตและติดตั้งจริง
ทางด้านเทคนิคทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมนั้น ฟีเจอร์ที่โดดเด่นก็เห็นจะได้แก่กระจกเทมเปอร์ (Temper)ที่โค้งทั้งแนวตั้งและแนวนอนไปพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความมีเอกลักษณ์ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวย แปลกตา และการใช้งานที่ปลอดภัย คงทน ซึ่งกระจกที่เราออกแบบ ประกอบและติดตั้ง กระจกนั้นจะลอยเหนือพื้นในลักษณะที่โค้งเหมือนใบเรือที่ประกอบขึ้นสูง3ชั้น ทั้งน้ำหนักกระจกก็ต้องมีการคำนวณน้ำหนักเพื่อทำคานรับ และหาจุดถ่วงที่สามารถทรงตัวดีที่สุดของกระจกที่ประกอบกันทั้งแผง เพื่อไม่ให้เกิดข้อบกพร่องใดๆทั้งระหว่างติดตั้งและใช้งาน
อีกอย่างหนึ่ง กระจกแต่ละแผ่นที่ประกอบเข้าด้วยกันนั้นจะไม่เป็นรูปทรงมาตรฐาน คือสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม ฯลฯ ตามที่เห็นทั่วๆ ไป
:: กระจกจะต้องแยกประกอบในแนวตั้งสามชั้น ให้ได้โค้งตามที่ออกแบบและกำหนดให้ทั้งสองแนว ::
คือทั้งแกน X และ แกน Y โดยด้านข้างต้องประกบกันเป็นรูปโค้งใน(แนวนอน) โดยต้องทำมุม 18องศา และจะต้องมีระยะห่างระหว่างแผ่นต่อแผ่น 6 mm. เท่ากันทั้งหมดตลอดทุกแนวเพื่อให้รับกับ Spider โดยทีมวิศวกรจะคำนวณหาขนาดกระจกจากองค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมา ซึ่งจะได้กระจกแผ่นเรียบที่มีรูปทรงตั้งแต่แผ่นล่างจนถึงแผ่นบนไม่เท่ากันทั้งสี่ด้าน โดยในแนวตั้งจะมี R ทั้งสองด้าน ด้านบนและด้านล่างตัดตรงโดยที่ขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งการนำไปเข้ากระบวนการดัดโค้งและTemper แล้วต้องประกอบกันพอดีทั้งสองแนว ทั้งแนวตั้ง (แกน X) และแนวนอน (แกน Y)
อุปกรณ์ติดตั้ง

นอกจากการออกแบบแล้ว ยังจะต้องใส่ใจการการเลือกวัสดุ – อุปกรณ์ติดตั้ง ซึ่งรูปร่างลักษณะภายนอกของอุปกรณ์ติดตั้ง ตัวหนีบจับกระจก (Pinch plate) มีขายื่นออกมา 4 ทิศ เป็นขายึดกระจก ที่รองรับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีความแข็งแรงทนทาน หรูหรา มีมูลค่า เพราะทำด้วยสแตนเล สตีล 316 ใช้อุปกรณ์ติดตั้ง สามารถเลือกใช้ได้ 2 ประเภท
– ตัวหนีบจับกระจก (Pinch plate)
– แบบเจาะรูร้อย (FIX PIONT)
กระจก (Glass)

ทำมาจากกระจกโค้งเทมเปอร์ ซึ่งผ่านเครื่องจักรเทคโนโลยีชั้นสูง มีที่นี่แห่งแรกในทวีปเอเชีย คือ Force Convection System ระบบเตาอบที่ใช้วิศวกรรมของเครื่องจักร ผ่านแรงลมความร้อนสูงนำพาให้กระจกโค้งได้ตามความต้องการ โดยมิต้องใช้แม่พิมพ์แต่อย่างใด รองรับการผลิตกระจกขนาดสูงสุดถึง 2.50 X 2.40 เมตร รัศมีความโค้งของกระจก >1600 มม.
กระจก (Glass)

สีที่ใช้ในการซิลค์สกรีนเป็นแบบทนทานความร้อนสูง (ประมาณ 700 C) ทนการขูดขีด สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก
:: สีประเภท ceramic นี้จะมีอายุการใช้งานนานกว่า 10 ปี ::
ซึ่งจะเหมาะสำหรับงานสถาปัตยกรรมที่ต้องตากแดด ตากฝน ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป อีกทั้งเรายังสามารถพิมพ์ตราสัญลักษณ์ หรือตราโลโก้ ขนาดใหญ่ ที่บ่งบอก เล่าเเรื่องราว ของสถานที่ต่างๆได้ ดังเช่น ธ.กรุงไทย (สำนักงานใหญ่) เองก็ใช้การซิลล์สกรีนรูปนกวายุภักษ์ หรือ ATCC (Air traffic Control Complex) เองก็ใช้การซิลล์สกรีนด้วยเช่นกัน
การบริการจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญงาน – มืออาชีพ


เรามีทั้งวิศวกรโครงสร้างและทีมงานดีไซน์ร่วมกันในการคำนวณ และปรับปรุงในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง การคำนวณแรงลมเพื่อเป็นไปตามกฎกระทรวง ในส่วนของงานออกแบบและคำนวณส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารพ.ศ. ๒๕๕๐ รวมถึงข้อกำหนด และ พรบ.ต่างๆ ของงานการก่อสร้างอาคาร
โดยปกติในงานก่อสร้างอาคารไม่ว่าสูงหรือต่ำนั้นไม่เพียงแต่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกรที่เชี่ยวชาญในโครงสร้างเท่านั้น รูปโฉมภายนอกของอาคารนั้นจะต้องมีความงดงาม สะดุดตา โดยต้องตอบสนองต่อพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง และ VMC. พร้อมแล้วที่จะให้ Curve Façade เป็นอีกหนึ่งทางเลีอก ที่แตกต่าง ให้สถาปนิกและวิศวกรทั่วไป สามารถนำไปไช้ประโยชน์ในการต่อยอดแนวความคิดของท่าน หรือหากท่านเห็นศักยภาพและผลงานของเรา และอยากให้เรามีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำให้แนวความคิดและทุกความต้องการของท่านสำเร็จ ลุล่วงอย่างสวยงาม
V.M.C พร้อมให้คําปรึกษาเสมอ กรุณาติดต่อเรา
เพียงท่านบอกรายละเอียดถึงรูปแบบ Facade ที่ต้องการ , ขนาดโดยรวม ,พื้นที่หรือสัดส่วนที่ให้ปรับเปลี่ยน เป็น Façade , หรือแม้กระทั่งหน้าตาของอาคารที่มีรายละเอียดเพียงคร่าวๆ ตามที่สถาปนิกออกแบบไว้ ที่สำคัญทุกสิ่งที่กล่าวมาเป็นไปตามมาตรฐาน , พรบ. และข้อกำหนดต่างๆ อย่างครบถ้วน
Ø การรับแรงลมตาม พ.ร.บ. ควบคุม อาคาร พ.ศ. 2522
Ø พระราชกฤษฎีกาปี พ.ศ. 2538 เรื่อง OTTV และ RTTV
Ø มยผ. 1311-50 มาตรฐานการคำนวนแรงลมและการตอบสนองของอาคาร
Ø พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 2535 ที่กำหนดให้อาคารควบคุมมีค่า OTTV ไม่เกิน 4วัตต์ต่อตารางเมตร ยกเว้นอาคารเก่าที่ยอมให้ที่ 55 วัตต์ต่อตารางเมตร ส่วนค่า RTTV กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 25 วัตต์ต่อตารางเมตร