The Leader Connect


vmc_9810_o-1

ตลอดระยะเวลายาวนานหลายสิบปี ที่ประเทศไทยได้เริ่มต้นการประกอบตัวถังรถบัสในประเทศ จนถึงปัจจุบัน ได้มีบริษัทขนาดใหญ่ หรืออู่ประกอบรถบัส เกิดขึ้นมากมาย อาทิเช่น เชิดชัย บัส บอดี้ และ ธนบุรี บัส บอดี้ หรืออีกหลายอู่ในราชบุรี (บ้านโป่ง) เรามีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ของประวัติศาสตร์รถบัสไทย ถึงแม้การพัฒนาการประกอบรถบัสในบ้านเรา รวมไปถึงมาตรฐานควบคุม ยังคงต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาหลายสิบปีนี้ ทำให้เกิดการออกแบบลวดลาย รูปทรง ของรถบัสไทย ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบลวดลาย การตัดกระจกที่ไม่ใช่แค่การจัดให้เป็นสี่เหลี่ยมธรรมดา ไม่เพียงเท่านั้น การออกแบบหน้ารถ ที่ต้องการความ Aero Dynamic มากขึ้น และต้องการให้คนขับและผู้โดยสาร สามารถมองเห็นทัศนวิสัยที่สบายตา และเห็นภาพที่กว้างขึ้น ทำให้ต้องคิดค้นกระบวนการ และพัฒนาเครื่องจักรของเรา ให้ทันสมัยมากขึ้น รวมถึงการออกแบบรูปทรงช่องหน้าต่างให้มีลวดลาย และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะรถคันนั้นๆ ทำให้ V.M.C.พัฒนาระบบ Tracking หรือ Production Centered System (PCS) ที่ช่วยให้เราตรวจสอบสินค้า ที่อยู่ในกระบวนการผลิตได้แม่นยำขึ้น แต่การพัฒนากระจกของเราจะไม่จบสิ้นเท่านั้น

อนึ่ง กระจกของ V.M.C. ที่ได้เคยพัฒนามายังมีหลายรุ่น ที่ยังไม่ได้มีโอกาสได้ใช้งานอย่างแพร่หลายในตลาด เช่น กระจกประเภทสูญญกาศ IGU

กรมการขนส่งทางบก ออกประกาศเรื่อง กำหนดส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกของรถ ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีเครื่องปรับอากาศ พ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 1 และ 2 (ก) (ข) (ค) (ง) และมาตรฐาน 5 (ก) ห้องผู้โดยสารจะต้องมีกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์อย่างน้อย 2 บาน
  2. รถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 4 (ก) (ข) (ค) (ง) ห้องโดยสารชั้นบนและชั้นล่าง จะต้องมีกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์อย่างน้อยชั้นละ 2 บาน
  3. รถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 6 (ก) ห้องผู้โดยสารตอนหน้าและตอนท้าย ต้องมีกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์อย่างน้อย ตอนละ 2 บาน
  4. รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 2 (จ) ห้องโดยสารต้องเป็นกระจกนิรภัยประเภทเทมเปอร์และจะมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย 2 อัน
  5. ขนาดและตำแหน่งของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ตามข้อ 1-3 ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 70 ซม. สูงไม่เกิน 50 ซม. และอยู่สูงจากพื้นรถ ที่ติดตั้งที่นั่งผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 50 ซม. และต้องมีค้อนทุบกระจกอย่างน้อย 1 อัน และจะต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” ที่สามารถมองเห็นได้ชัด

โดยที่รถที่ใช้ขนส่งผู้โดยสาร แบ่งเป็น 7 มาตรฐานคือ

  1. มาตรฐานสำหรับ รถปรับอากาศพิเศษ
  2. มาตรฐานสำหรับ รถปรับอากาศ
  3. มาตรฐานสำหรับ รถที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ
  4. มาตรฐานสำหรับ รถสองชั้น
  5. มาตรฐานสำหรับ รถพ่วง
  6. มาตรฐานสำหรับ รถกึ่งพวง
  7. มาตรฐานสำหรับ รถโดยสารเฉพาะกิจ
สีสกรีนเซรามิค ที่สกรีนลงบนผิวกระจก เพื่อความสวยงาม ปกปิดขอบของ Body และยังช่วยป้องกัน UV ที่จะทำลายซิลิโคนให้เสื่อมสภาพเร็ว เป็นสีที่ทนอุณหภูมิสูง โดยสกรีนก่อนผ่านกระบวนการดัดโค้ง จึงทำให้สียึดเกาะกระจกได้ดีกว่า และไม่สามารถล้างออกได้ เมื่อผ่านการดัดโค้งแล้ว สามารถสกรีนลวดลาย (ไข่ปลา) ด้านบนของแผ่นกระจกแทนการใช้เยื่อเหลือบ (Top shed) เพื่อกรองแสงที่เข้ามาภายในรถได้
เยื่อ PVB คือ (Poly Vinyl Butyral) เป็นวัสดุยึดเกาะกระจกลามิเนต ลดเสียง ป้องกัน UV ซึ่งในการจัดเก็บวัตถุดิบเยื่อ PVB ถือเป็นสิ่งสำคัญของการผลิตกระจกลามิเนตที่มีคุณภาพ ถ้าไม่มีการจัดเก็บที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดความชื้นขึ้นที่ตัว PVB ซึ่งจะทำให้กระจกลามิเนต เกิดฟองอากาศขึ้นภายหลัง (Air Bubble) และประสิทธิภาพในการยึดเกาะลดลง ที่นิยมใช้กับกระจกรถบัสมีด้วยกัน 5 สี

  1. สีใส
  2. ใสเหลือบน้ำเงิน
  3. ใสเหลือบเขียว
  4. สีฟ้าเหลือบน้ำเงิน
  5. สีชา (Dark Gray)

เราเป็นผู้เชี่ยวชาญงานกระจกนิรภัย และกระจกประหยัดพลังงาน

logo-มาตรฐาน

Copyright 2015 – Pro Connect – All Rights Reserved